ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
- สอบทานให้บริษัทและบริษัทย่อย มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยเพียงพอ โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชี และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบ บัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัท ก็ได้
- สอบทานให้บริษัทและบริษัทย่อย มีระบบควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการ พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
- สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทและบริษัทย่อย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- เสนอแต่งตั้งและเลิกจ้างผู้สอบบัญชีภายนอกโดยในการคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งจะพิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมถึงพิจารณาค่าตอบแทนการตรวจสอบบัญชี โดยคำนึงถึง ความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานบัญชีนั้น รวมถึงประสบการณ์ของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุม ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- พิจารณารายการเกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
- จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้
- ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย ถึงความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้
- ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท และบริษัทย่อย
- ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และบริษัทย่อย
- ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชีของบริษัท และบริษัทย่อย
- ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
- ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
- รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ
- ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหารทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ ในรายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บทรายงาน และการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร (MD&A) เป็นต้น
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบทั้ง 3 ท่านของบริษัทฯ มาจากกรรมการอิสระที่คุณสมบัติตามข้อ 16 ของประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551
องค์ประกอบ และการสรรหากรรมการตรวจสอบ
กรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท และมีคุณสมบัติ ตามที่กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศ ข้อบังคับ และ/หรือระเบียบของตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 3 คน ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 คน ต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านการบัญชีและการเงิน วาระการดำรงตำแหน่งของ คณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี นับจากวันที่มีมติแต่งตั้ง และเมื่อครบวาระแล้ว หากคณะกรรมการ บริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นยังไม่ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ ก็ให้คณะกรรมการตรวจสอบชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่แทนคณะกรรมการตรวจสอบชุดเดิมที่หมด วาระลง และหรือเป็นไปตามวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยกรรมการตรวจสอบที่สรรหามาได้จะต้องเป็นกรรมการอิสระและ มีคุณสมบัติเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ ดังนี้
คุณสมบัติคณะกรรมการอิสระ (นิยามกรรมการอิสระ)
บริษัทฯ ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระ (นิยามกรรมการอิสระ) ของบริษัทฯ ไว้โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับหลักเกณฑ์ที่คณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้)
- ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆด้วย
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุม ของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน ทั้งนี้ ลักษณะต้อง ห้ามดังกล่าว ไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ มีอำนาจควบคุมของบริษัท
- ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท หรือบริษัทย่อย
- ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้ มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ ควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมา แล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับ ค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้น เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะ ดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่ มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกิน ร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขัน ที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย
- ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท
- กรรมการอิสระตามคุณสมบัติข้างต้น อาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้มีอำนาจควบคุม โดยมีการตัดสินใจในรูป แบบองค์คณะ (Collective Decision) ได้
คุณสมบัติคณะกรรมการตรวจสอบ
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัท ร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และ
- ไม่เป็นกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกัน เฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน
- มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ ต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย หนึ่งคนที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
- มีหน้าที่ในลักษณะเดียวกับที่กำหนดไว้ในประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงาน ของคณะกรรมการตรวจสอบ
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ
เรียน ท่านผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบตามขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบ หมาย จากคณะกรรมการบริษัทในการตรวจสอบและสอบทานให้บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีระบบการควบคุมภายในที่ เพียงพอ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน โดยในปี 2558 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมรวม 4 ครั้ง ซึ่งกรรมการตรวจสอบทุกท่านได้เข้าร่วมประชุมครบถ้วน โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาเรื่องต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของรายงานการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทาน งบการเงินรายไตรมาส และงบการเงิน ประจำปี 2558 เพื่อความมั่นใจว่าการจัดทำงบการเงินของบริษัทฯได้จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และได้เปิดเผยข้อมูล ด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ และผู้สอบบัญชีได้ให้ความเห็นต่องบการเงิน ซึ่งได้เสนอต่อคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น
- ความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานความเพียงพอเหมาะสม และประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน โดยกำกับดูแล แนะนำ และสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบ ภายใน สอบทานรายงานผลการตรวจสอบภายในปี 2558 และติดตามให้มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าการควบคุมภายในของบ ริษัทฯและบริษัทย่อย มีความเหมาะสมเพียงพอ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำ คัญ
- การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดบริษัทฯ และข้อผูกพันที่บริษัทมีไว้กับบุคคลภายนอก คณะกรรมการตรวจสอบได้ดำเนินการสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัทฯ และข้อ ผูกพันที่บริษัทฯ มีไว้กับบุคคลภายนอก ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบไม่พบประเด็นที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย และข้อกำหนดดังกล่าว รวมถึงข้อผูกพันที่บริษัทฯ มีไว้กับบุคคลภายนอก
- การคัดเลือกผู้สอบบัญชี พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี โดยพิจารณาความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี ความรู้ ความ สามารถในการตรวจสอบทีมงานของผู้สอบบัญชีในสำนักงานและค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยได้เสนอแต่งตั้ง บริษัท สอบบัญชี ดี ไอ เอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำปี 2558 ตลอดจนมีการพบปะระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบกับผู้สอบ บัญชีของบริษัทฯ เป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาจากการตรวจสอบ และหาแนวทางแก้ไขในประเด็นที่สำคัญ
- การบริหารจัดการความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารให้ความสำคัญและระมัดระวังต่อการบริหารความเสี่ยง รวมทั้ง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีส่วนช่วยพิจารณาและวางระบบ การบริหารความเสี่ยงครอบคลุมทั้งองค์กร โดยมีการติดตามผลความ คืบหน้าและมีการทบทวนความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเชื่อได้ว่าจะเกิดประโยชน์แก่บริษัทฯ และ ผู้ถือหุ้นทุกราย
- รายงานที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการตรวจสอบได้ดำเนินการ สอบทานและให้ความเห็นต่อ รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของรายการดังกล่าวตามข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารให้ความสำคัญในการบริหารงานตามหลักการของการกำกับดูแล กิจการที่ดี เพื่อความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น
- การต่อต้านคอร์รัปชั่น คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารให้ความสำคัญในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น หลังจากบริษัทฯได้ ประกาศนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นเมื่อปี 2556 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีบทบาทหน้าที่หลักตามนโยบายดังกล่าวแล้ว ต่อมาใน ปี 2557 บริษัทฯได้ประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ทั้งนี้ปัจจุบันคณะกรรมการแนวร่วม ปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตได้มีมติให้การรับรองบริษัทฯเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติฯแล้วเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559
โดยสรุปในภาพรวมแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้ระบุไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการ ตรวจสอบที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยใช้ความรู้ ความสามารถ และความระมัดระวังรอบคอบ มีความเป็นอิสระอย่าง เพียงพอ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีการรายงานข้อมูล ทางการเงินอย่างถูกต้อง มีการดำเนินงานภายใต้ระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล มีการปฏิบัติ ตามกฎหมายระเบียบและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างเหมาะสม และ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเพียงพอ โปร่งใส และเชื่อถือได้
